เทคนิคระบุประเภทปัญหาเพื่อแก้ปัญหายาก ๆ ให้จบได้จริง

เทคนิคระบุประเภทปัญหาเพื่อแก้ปัญหายาก ๆ ให้จบได้จริง

ถ้าหากเรามีมนต์วิเศษ ดีดนิ้วแล้วทำให้ปัญหาหายไปได้ คุณคิดว่าดีหรือไม่ครับ

ผมคิดว่าดีนะ ส่วนตัวอยากได้แบบนั้นเลย (เหมือน Thanos ใน The Avengers) แต่ในชีวิตจริงมันไม่มีอะไรแบบนั้นนี่สิ ซึ่งปกติแล้วผมมักจะเจอแต่คนบ่นว่า…
 
“สู้กับปัญหาเต็มที่แล้ว แต่จัดการไม่สำเร็จเสียที โดนปัญหาสู้กลับทุกที”
“พยายามจัดการปัญหา แต่กลับมีคนไม่เห็นด้วย เจอคัดค้าน ต่อต้าน หรือเจอตอ”
“คิดว่าตัวเองตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว แต่ผลลัพธ์ไม่เหมือนที่คาดการณ์เอาไว้เลย”
====
 
ตัวอย่างทั้งหมดนี้ คือเรื่องที่หลายคนเจอกันเป็นปกติอยู่แล้ว
 
ต้นเหตุสำคัญของการเกิดภาวะเหล่านี้ก็คือ … การที่เรารีบร้อนแก้ปัญหามากจนเกินไป
 
ใช่แล้วครับ ปัญหาที่เกิดจากการแก้ปัญหามีต้นเหตุมาจากการรีบร้อนกระโจนเข้าไปแก้ปัญหานั่นเอง
ก่อนจะงุนงงกับถ้อยคำมากไปกว่านี้ ผมขอพาทุกคนมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันดีกว่าครับ
====
หนึ่งในเคล็ดลับที่สำคัญของนักแก้ปัญหาชั้นยอดก็คือ…
 
“การรู้ว่าตัวเองกำลังเผชิญกับปัญหาประเภทไหนอยู่”
 
คุณอาจมีคำถามว่าปัญหามีกี่ประเภทกันแน่หลังจากอ่านประโยคด้านบนจบ
 
ก่อนจะอธิบาย ผมอยากให้คุณดูตัวอย่างการรายงานปัญหาเหล่านี้ก่อนครับ
====

1. ที่โรงงานของเรากำลังขาดทุน คนงานก็บ่นว่าถังขยะไม่พอ หัวหน้าแผนกการเงินกับฝ่ายผลิตทะเลาะกันรุนแรงมาก รปภ. นั่งหลับ เดือนที่แล้วเพิ่งเกิดเหตุไฟไหม้ แต่ยังจับมือใครดมไม่ได้ ประกันไม่ยอมจ่ายเพราะคิดว่ามีการวางเพลิงโดยทีมผู้บริหาร ผู้บริหารฝ่ายการตลาดเพิ่งลาออก หัวหน้าไลน์ผลิตที่ 3 คุมลูกน้องไม่อยู่เพราะอายุน้อยกว่า พนักงานกะกลางคืนแอบเสพยาเสพติด ชาวบ้านรอบโรงงานบ่นว่าโรงงานเราเป็นโรงงานที่ไร้ธรรมาภิบาล เพราะชอบปล่อยน้ำเสียลงคลอง ฯลฯ

2. จากการฟังปัญหาผ่านการสัมภาษณ์พนักงาน 20 คนจาก 5 แผนก และหัวหน้าแผนกต่างๆ แล้ว สรุปได้ว่าเรามีปัญหาดังนี้
A. การเงินที่ขาดทุน
B. ยอดขายที่ตกลงจากการโดนคืนสินค้า
C. ความปลอดภัยจากการชำรุดเกี่ยวกับไฟในโรงงาน
D. พนักงานกะกลางคืนมีการซื้อขายและเสพยาเสพติด
E. ชาวบ้านร้องเรียนโรงงานผ่านหน่วยงานราชการ 5 ครั้งใน 1 เดือน
F. การเคลมประกันที่ไม่คืบหน้า

3. ผมคิดว่าเหตุไฟไหม้อาจเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร หรือไม่ก็มีใครไปทำให้เกิดประกายไฟ

4. จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิด และสถานที่แวดล้อมแล้ว ได้ข้อสรุปว่าเกิดไฟฟ้าลัดวงจรบริเวณเครื่องจักร A แล้วระบบตัดไฟไม่ทำงานเนื่องจากมีอายุ 15 ปีแล้ว (ซึ่งเกินกำหนดกว่าที่ผู้ผลิตแจ้งไว้ว่าควรเปลี่ยนทุก 5 ปี)

5. ระบบตัดไฟที่ผ่านเงื่อนไขความปลอดภัยมี 2 รุ่น รุ่นนึงจากประเทศเยอรมัน รับประกัน 3 ปีราคา 3 ล้านบาท อีกรุ่นจากประเทศไทย ราคา 1 ล้านบาท

6. ตามที่เราตัดสินใจจะแก้ปัญหาการตรวจสอบกระบวนการภายในของเรา ผมว่าเราต้องพิจารณากันแล้วว่าจะตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือจ้าง Outsource Agent มารับผิดชอบ
====
 
หลังจากอ่านทั้ง 6 ข้อด้านบนแล้ว นักแก้ปัญหาจะทำการพิจารณาทีละข้อดังนี้
 
ในข้อ 1 ปัญหาเยอะ และยุ่งเหยิงมาก เราควรลิสต์ปัญหาออกมาเป็นข้อๆ ก่อน ซึ่งถ้าทำตามนั้นเราจะได้ข้อ 2
ข้อ 2 เมื่อเห็นปัญหาแล้ว เราควรพิจารณาความสำคัญกับปัญหาต่าง ๆ เพื่อเรียงลำดับการแก้ไขปัญหา เพราะเรามีทรัพยากรจำกัด โดยเฉพาะ ‘เวลา’
 
ข้อ 3 เป็นกรณีการคาดเดา (โดยใช้ความคิดเห็น) เกี่ยวกับสาเหตุในการเกิดปัญหา ซึ่งเราควรค้นหาสาเหตุที่แท้จริง (ความจริงไม่ใช่ความคิดเห็น) เพื่อเข้าใจปัญหานั้นจริงๆ
 
ข้อ 4 เรารู้แล้วว่าสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาคืออะไร ต่อไปเราก็จะสามารถคิดหาทางเลือกในการแก้ปัญหาได้แล้ว
 
ข้อ 5 เป็นการตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหา โดยอาจจะต้องปรึกษาผู้มีอำนาจ หรือพิจารณาจากงบประมาณร่วมด้วยก็ได้
 
ข้อ 6 เป็นการตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา เช่นเดียวกับข้อ 5 แต่เพิ่มการวิเคราะห์ทางเลือกแต่ละทางแบบลงลึกมากขึ้น
====
 
ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างที่บ่งชี้ว่า ปัญหาที่แตกต่างกันต้องการการตอบสนองที่แตกต่างกัน
 
ถ้าเรามัวแต่อยากรีบกระโจนเข้าไปแก้ปัญหาทันทีที่รู้ว่าเกิดปัญหา โดยยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนทั้งหมดนั้นคิดว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไรครับ
 
ไม่รู้ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง
ไม่รู้ว่าควรเริ่มแก้ปัญหาไหน (ปัญหาไหนสำคัญแลพะเร่งด่วนที่สุด)
 
ไม่รู้ว่าควรใช้วิธีไหนในการแก้ปัญหา
 
ถึงตรงนี้คุณน่าจะพอมองเห็นว่าการที่ผมบอกให้ทุกคนชะลอความต้องการแก้ปัญหาก่อนจะลงมือแก้ปัญหาเป็นคำแนะนำที่ดีกว่า
อีกหนึ่งต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คุณแก้ปัญหาไม่ได้ คือ ต้นทุนจม เรียนรู้เรื่อง ต้นทุนจม อคติทางความคิดที่ทำให้คุณตัดสินใจผิดพลาด คลิกที่นี่
====
 
ซึ่งถ้าคุณอยากเรียนรู้เรื่องของประเภทปัญหา และวิธีการจัดการกับปัญหาให้ชัดเจนมากขึ้น
 
ผมขอเชิญชวนทุกคนมาเรียนรู้ร่วมกันในหลักสูตร  Problem Solving & Decision Making  
ซึ่งผมจะมาบอกเทคนิควิธีการลำดับความสำคัญและระบุประเภทของปัญหาอย่างลงลึก
ดูรายละเอียด คลิกที่นี่
 
เพราะการเริ่มต้นแก้ปัญหาที่แท้จริง เริ่มจากการเข้าใจว่ามันเป็นปัญหาประเภทไหนก่อน
แล้วพบกันนะครับ
====
 
บทความ โดย
อ.ป้อบ มาติก ตั้งตรงจิตร
CFA, FRM
Team Persuasion and Organizational Negotiator
 
Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

5 เทคนิครับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา

ในชีวิตของคนเราต้องพบเจอกับผู้คนมากมายหลายประเภท บางคนคอยช่วยเหลือและสนับสนุนให้เราทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จ

ในทางตรงกันข้าม ก็มีบางคนที่คอยกลั่นแกล้ง ขัดขวาง เอาเปรียบ ใส่ร้ายป้ายสี มองโลกในแง่ลบ และทำให้เราหมดกำลังใจที่จะไล่ตามความฝัน

ซึ่งเราให้คำนิยามกับคนประเภทนี้ว่าเป็น “มนุษย์เจ้าปัญหา” หรือ  “เพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา”

เพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหา คือ คนที่มักทำให้คนรอบข้างเกิดความยุ่งยาก หงุดหงิด รำคาญใจ และบางทีอาจทำให้ผู้อื่นเสียหายได้

====

พวกเขาอาจเป็นเจ้านาย ลูกน้อง ลูกค้า เพื่อน หรือคนในครอบครัวของคุณ ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดเมื่อเจอกับคนเหล่านี้ก็คือ การเดินหนี หรือไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย

อย่างไรก็ตามวิธีนี้ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะหลายครั้งคุณอาจตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจวิ่งหนีปัญหาได้ ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งคุณจำเป็นต้องรักษาความสัมพันธ์อันดีกับคนเหล่านี้ด้วย เพราะฉะนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรับมือกับเพื่อนร่วมงานเจ้าปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

1) อย่าเกลียดชัง แต่จงขอบคุณมนุษย์เจ้าปัญหา

เมื่อคุณเจอกับมนุษย์เจ้าปัญหา คุณอาจรู้สึกโกรธ เกลียดชัง หรือท้อแท้สิ้นหวัง ความรู้สึกในแง่ลบเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณควรก้าวข้ามและผ่านมันไปให้ได้ เพราะมันเป็นตัวบ่อนทำลายความสุขของคุณ

วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ คุณควรเปลี่ยนทัศนคติ โดยคิดว่าพวกเขาเป็นสิ่งที่ท้าทายในชีวิต

กล่าวคือ คุณควรคิดว่าการใช้ชีวิตหรือการทำงานกับคนเจ้าปัญหาเป็นบททดสอบหนึ่ง ซึ่งสิ่งนั้นจะทำให้คุณกลายเป็นคนที่แข็งแกร่งขึ้น

ด้วยเหตุนี้ คุณจึงควรขอบคุณพวกเขาที่ทำให้คุณรู้จักความอดทนอดกลั้น และได้พัฒนาตนเอง

วิธีการนี้ดูเหมือนว่าเป็นวิธีการที่ยาก แต่มันเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะหากคุณสามารถจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ คุณก็จะสามารถรับมือกับมนุษย์เจ้าปัญหาได้เช่นกัน

====

2) ใช้มนุษย์เจ้าปัญหาเป็นตัวกระตุ้นสิ่งดีๆในตัวคุณ

อีกหนึ่งวิธีในการรับมือกับมนุษย์เจ้าปัญหาก็คือ การใช้สิ่งเลวร้ายที่พวกเขาทำเป็นแรงผลักดันให้คุณก้าวไปข้างหน้า

ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่คุณกำลังนั่งทำงานอย่างหนัก เพื่อนร่วมงานของคุณได้นั่งจับกลุ่มนินทาและพูดคุยเรื่องไร้สาระทั้งวัน

แน่นอนว่าหากคุณเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ คุณต้องอารมณ์เสีย หงุดหงิด และไม่พอใจเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม คุณไม่ควรปล่อยให้ตัวเองจมกับความคิดด้านลบเหล่านั้น

สิ่งที่คุณควรทำก็คือ การเปลี่ยนความรู้สึกแย่ๆให้กลายเป็นพลังเชิงบวก

ให้คุณคิดซะว่ามันไม่ใช่เรื่องของคุณ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรเสียเวลาหรือใส่ใจกับการกระทำของคนเหล่านั้น และจงปล่อยให้พวกเขาทำต่อไปเพราะคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพวกเขาได้สำหรับตัวคุณเองก็ควรมุ่งมั่นตั้งใจสร้างสรรค์สิ่งดีๆ พัฒนาตนเอง และใช้อุปสรรคทั้งหลายเป็นตัวกระตุ้นไฟในตัวคุณ

====

3) ใช้เวลากับพวกเขาให้มากขึ้น

แทนที่คุณจะวิ่งหนีปัญหา ให้คุณลองเปลี่ยนแนวทางดูบ้าง กล่าวคือ คุณอาจลองเข้ากลุ่ม หรือใช้เวลากับพวกมนุษย์เจ้าปัญหาให้มากขึ้น

แม้วิธีการนี้อาจทำให้คุณรู้สึกว่ากำลังบีบบังคับจิตใจตนเองก็ตาม แต่การคลุกคลีและร่วมทำกิจกรรมต่างๆกับคนเหล่านี้จะทำให้พวกเขาเปิดใจและยอมรับคุณมากขึ้น

ในขณะเดียวกัน ก็จะทำให้คุณรู้จักและเข้าใจพวกเขามากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้คุณทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขามีพฤติกรรมในการสร้างปัญหาหรือก่อความวุ่นวายให้กับคนรอบข้างตลอดเวลา

ทั้งนี้ เมื่อคุณเข้าใจพวกเขามากขึ้น คุณอาจได้ปรับมุมมองหรือทัศนคติของคุณที่มีต่อพวกเขาก็เป็นได้ และคุณก็จะสามารถควบคุมอารมณ์และจิตใจตนเองได้มากขึ้นเช่นกัน

สิ่งนี้จะช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตอยู่กับมนุษย์เจ้าปัญหาได้อย่างเข้าใจ และราบรื่นยิ่งขึ้น

====

4) ตั้งเป้าหมายของตัวคุณเอง

การตั้งเป้าหมายเป็นหนึ่งในวิธีการรับมือกับคนเจ้าปัญหาพร้อมๆกับการพัฒนาตนเอง กล่าวคือ ให้คุณลองตั้งเป้าหมายของตนเองที่เกี่ยวกับการรับมือกับมนุษย์เจ้าปัญหา

เช่น หากฉันเจอกับคนขี้บ่น ก้าวร้าว ซุบซิบนินทา ฉันจะต้องไม่รู้สึกแย่ หงุดหงิด หรือหมดกำลังใจ นอกจากนี้ ฉันจะพยายามเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนเจ้าปัญหาให้ได้ เป็นต้น

คุณอาจตั้งเป้าหมายเล็กๆก่อน และค่อยๆขยับเป้าหมายให้สูงขึ้นเรื่อยๆ วิธีการนี้จะทำให้คุณรู้สึกท้าทาย และเห็นว่าการรับมือกับคนเหล่านี้เป็นเรื่องสนุก ทั้งยังช่วยให้คุณมีโอกาสในการพัฒนาตนเองอีกด้วย

กล่าวคือ หากคุณอดทนกับคนเจ้าปัญหาและยังสามารถทำงานร่วมกับเขาได้ ก็จะทำให้คุณเป็นคนใจเย็นขึ้น ใจกว้างขึ้น และอดทนมากขึ้น

====

5) พยายามทำความเข้าใจและช่วยเหลือมนุษย์เจ้าปัญหา

บางคนอาจเป็นมนุษย์เจ้าปัญหาด้วยเหตุผลบางประการ ยกตัวอย่างเช่น บางคนเผชิญกับสิ่งเลวร้ายในชีวิตหรือมีปัญหาทางร่างกาย จิตใจ หรืออารมณ์ และสิ่งเลวร้ายเหล่านั้นจึงส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออกของพวกเขาจนทำให้เป็นมนุษย์เจ้าปัญหาในปัจจุบัน

เพื่อเป็นการช่วยให้พวกเขามีพฤติกรรมที่พึงประสงค์มากขึ้น คุณควรปฏิบัติต่อเขาอย่างที่คุณต้องการให้เขาปฏิบัติต่อคุณ

อย่างไรก็ตาม คุณอาจต้องทำใจยอมรับว่า เขาอาจปฏิบัติต่อคุณได้ไม่ดีเท่าที่คุณปฏิบัติต่อเขา นั่นเป็นเพราะปมปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ดังนั้น คุณควรให้เวลากับพวกเขา พยายามทำความเข้าใจ และช่วยเหลือพวกเขาเมื่อมีโอกาสด้วย

บางครั้งมนุษย์เจ้าปัญหาก็มีมากกว่าหนึ่ง และในหลายครั้งพวกเขาก็เป็นต้นเหตุสำคัญของความขัดแย้งด้วย เรียนรู้วิธีจัดการความขัดแย้งในทีมฉบับฉุกเฉิน คลิกที่นี่

====

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกับมนุษย์เจ้าปัญหา แก้ไขความขัดแย้งในทีมและพัฒนาให้ทีมร่วมมือร่วมใจกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

Source: http://www.lifehack.org/312503/encountered-difficult-people-and-wanna-escape-you-should-deal-with-them-these-5-ways

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

5 พฤติกรรมที่คนสำเร็จจะไม่มีวันทำอย่างแน่นอน

ไม่ว่าคุณจะอยากประสบความสำเร็จในด้านใดก็ตาม จะเป็นการงาน อาชีพ งานอดิเรก การใช้ชีวิต ฯลฯ โลกมีกฎสากลอยู่แล้วในการจะประสบความสำเร็จ แต่ก็มีบางสิ่งที่คุณต้องหลีกเลี่ยง

ต่อไปนี้เป็น 5 พฤติกรรม ที่ต้องหลีกเลี่ยง มาลองดูกันว่าคุณตกหลุมพรางเหล่านี้บ้างแล้วหรือยัง

1.การเลี่ยงความรับผิดชอบ

“ราคาของความยิ่งใหญ่ ก็คือความรับผิดชอบ”

Winston Churchill

อย่างแรกที่คนสำเร็จไม่ทำกันคือ “การโทษคนอื่น หรือหาคนรับผิด” แม้กระทั่งในความคิดก็เถอะ เมื่อบางอย่างผิดพลาดไป อะไรคือปฏิกิริยาแรกของคุณ?

สำหรับคนสำเร็จ เค้าเลือกที่รับความผิดนั้นไว้กับตน แทนที่จะโทษคนอื่นหรือโทษโชคชะตา นั่นจึงทำให้เขาได้ “เรียนรู้” จากความผิดพลาดนั้น แล้วก็ไม่ผิดซ้ำอีก

====

2.การผัดวันประกันพรุ่ง

“การผัดวันประกันพรุ่ง คือพฤติกรรมแย่ๆที่เลื่อนไปถึงวันมะรืน ในขณะที่ควรทำตั้งแต่เมื่อวานซืน”

Napoleon Hill

คนสำเร็จนั้นเน้น “ทำทันที” โดยไม่สนว่าเป็น “เวลาที่เหมาะสม” หรือไม่ พวกเขาทำงานหนักและไม่เคยยอมแพ้ โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมว่าต้องเอื้ออำนวย

ความลับของความสำเร็จนั้นมาจาก “การสะสมความสำเร็จเล็กๆ” ด้วยการทำซ้ำ เป็นระยะเวลานานๆ ไม่ใช่การท่าให้เกิดความสำเร็จยิ่งใหญ่ครั้งเดียว

====

3.การตามกระแส

“ สิ่งที่ยิ่งใหญ่ ไม่ได้สำเร็จจากการที่ทำตามแนวโน้มหรือกระแสนิยมของคนทั่วไป”

Jack Kerouac

ในแต่ละวัน คนเราผลิตข้อมูลมากมายมหาศาลจนล้นทะลัก จึงง่ายที่เราจะกระโดดเข้าไปสนใจสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ เหมือนเป็นโรคกลัวตกเทรนด์ 

การทำเช่นนี้ ทำให้เราไม่เหลือเวลาสำหรับการทำความเข้าใจตัวเองกับสิ่งที่ตนทำอยู่อย่างลึกซึ้ง คนสำเร็จใช้พลังงานไปกับการทำความเข้าใจกับเป้าหมายของตนเองโดยไม่สนใจเรื่องอื่น

ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการสำเร็จในด้านการขายและการตลาด คุณอาจเลือกที่จะศึกษาลงลึกไปในด้านจิตวิทยามนุษย์ ไม่ใช่การมองหาวิธีโปรโมทแคมเปญใหม่ๆ บนโซเชียลมีเดียแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

====

4.ศิลปินเดี่ยว

“ ชีวิตไม่ใช่การแสดงคนเดียว แต่เป็นการร่วมมือกันอย่างยิ่งใหญ่ และเราจำเป็นต้องรวบรวมคนรอบตัวที่ใส่ใจและสนับสนุนเรา”

Tim Gunn

สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่คนสำเร็จทำคือการแวดล้อมไปด้วยคนสำเร็จรอบตัว เขาจะไม่อยู่เพียงลำพัง เขาจะมีเครือข่ายและกลุ่มมืออาชีพ เขาจะอยู่ท่ามกลางคนฉลาด ที่สามารถทำเรื่องแตกต่างได้

นี่คือความจริง ไม่ว่าคุณจะอยากสำเร็จในเรื่องยิ่งใหญ่เพียงใด หรือแม้กระทั่งอยากลดน้ำหนักให้สำเร็จ มีการศึกษาวิจัยว่า เราจะลดน้ำหนักได้มากกว่าถ้าทำด้วยกันเป็นกลุ่ม

==== 

5.ขาดศรัทธา

“เชื่อในตนเอง มีศรัทธากับความสามารถของตน หากไม่มีความถ่อมตนและมั่นใจอย่างมีเหตุผลในพลังของตัวเองแล้วล่ะก็ คุณจะไม่มีทางประสบความสำเร็จและมีความสุขได้เลย”

Norma Vincent Peale

เรื่องนี้ไม่ใช่การคิดบวกหรือจินตนาการเข้าข้างตัวเอง “การมั่นใจอย่างมีเหตุผล” จะทำให้คุณสำเร็จในสิ่งที่วางเป้าหมายไว้

หากคุณไม่คิดแม้แต่ว่าจะทำได้สำเร็จแล้วล่ะก็ คุณจะไม่ลองทำด้วยซ้ำ ฉะนั้นคุณต้องบ่มเพาะความเชื่อและศรัทธาในตนเองให้เกิดขึ้น แม้ว่าชีวิตกำลังถอยหลังและยากลำบากอยู่ก็ตาม

====

การหลีกเลี่ยงความผิดพลาดทั้ง 5 ประเภทนี้ จะช่วยให้คุณบรรลุความสำเร็จในการงานและเป้าหมายส่วนตัวได้ แต่ถ้าอยากพบกับ”ความสำเร็จที่แท้จริง” แล้วล่ะก็ คุณต้องมีความสุขกับชีวิตเสียก่อน

อีกหนึ่งพฤติกรรมที่คนสำเร็จจะไม่มีวันทำคือการหยุดเรียนรู้อ่าน 3 เคล็ดลับที่การเรียนรู้ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้มากขึ้น คลิกที่นี่

แถมท้ายกับความผิดพลาดข้อ 6. “ความไม่สมดุล” คนเรามักจะล้มเหลวเพราะไม่มีความสมดุลระหว่าง การงาน ครอบครัว เพื่อน และสุขภาพของตน การที่เราสำเร็จด้านเดียว แต่แล้วก็ล้มเหลวด้านอื่น ก็ไม่อาจทำให้เรารู้สึกเต็มเต็มชีวิตได้อย่างแท้จริง

ดังนั้น ความสำเร็จที่แท้จริง คือ “ความสุขและความสมดุล” หากคุณสามารถสร้างสมดุลให้ทุกพื้นที่ของชีวิตได้ คุณก็จะมีความสุขและกำลังใจเต็มเปี่ยม เรื่องอื่นจะไปยากอะไร จริงไหมครับ

====

ผู้บริหาร ผู้จัดการ และเจ้าของธุรกิจที่ต้องการพัฒนาการทำงานและใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จสูงสุด เราขอแนะนำหลักสูตร The New Leadership Skill ดูรายละเอียดคลิกที่นี่

บทความโดย

อ. เรือรบ จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์

CEO และผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

5 เคล็ดลับ อัพเกรดสมองให้ฉลาดเหมือนไอน์สไตน์

งานวิจัยบอกว่า คนทั่วไปใช้สมอง เพียงแค่ 3% จากที่ตัวเองมีอยู่ คุณคิดว่าจริงไหม?

นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราไม่สามารถบรรลุศักยภาพสูงสุดของตัวเอง แถมยังสงสัยอีกว่า ทำไมบางคนถึงฉลาด มีไหวพริบมากกว่าคนอื่นจนทำให้เขาประสบความสำเร็จได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ

‘สมอง’ อวัยวะพิเศษที่มีกลไกอัจฉริยะซึ่งคุณสามารถฝึกฝน ให้มันทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพได้ แค่คุณรู้วิธี แต่ถ้าคุณไม่รู้ ก็เปรียบเสมือนคุณซื้อคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ สเปคสูงมา แล้วไปลงซอฟแวร์รุ่นเก่าทำให้มันทำงานได้เพียง 3% เท่านั้น รู้เช่นนี้แล้วคุณรู้สึกอย่างไร?

====

‘Ron White’ เป็นแชมป์ความจำจากสหรัฐอเมริกา เขามีสมองดั่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์จนได้รับการบันทึกลงกินเนสส์บุ๊กหลายสถิติ  เช่น การจำเลขจำนวน 28 หลัก ภายในเวลา 1.15 นาที การจำชื่อจำนวน 150 ชื่อ ภายในเวลา 20 นาที และการจดจำบทกลอนจำนวน 250 บรรทัดได้ภายในพริบตาเดียว

เขาฝึกฝนเทคนิคการเพิ่มความสามารถของสมองผ่านการจินตนาการแบบไอน์สไตน์ โดยมีเคล็ดลับในการเพิ่มความจำของสมองคนให้ทำหน้างานได้ดั่งสมองกล ด้วยการฝึกฝน 5 ขั้นตอนง่ายๆที่ใครๆ ก็ฝึกได้  ดังนี้ 

1. มุ่งประเด็นให้เด่นชัด (Focus)

ขั้นแรก คือ การโฟกัสสิ่งที่ต้องการจดจำให้ชัดเจนว่ามันคืออะไร?  มีความโดดเด่นหรือสำคัญตรงไหน ขั้นตอนนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำให้พลังของการจดจำมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนกับการที่เราบันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ เราต้องรู้ชัดเจนว่าเรากำลังต้องการบันทึกอะไรภาพ ตัวอักษร หรือ พรีเซนเทชั่น การมีเป้าหมายเจาะจงชัดเจนเป็นขั้นแรกในการเพิ่มความจำให้มีประสิทธิภาพ

====

2. จัดทำแฟ้มบันทึก (File)

หากคุณต้องการเรียกคืนไฟล์ต่างๆ จากคอมพิวเตอร์กลับมาใช้ คุณจะต้องบันทึกโฟลเดอร์หรือไฟล์งานนั้นไว้เพื่อจะเรียกใช้ในภายหลัง ความจำต่างๆ ของคุณก็มีกลไกการทำงานแบบเดียวกับคอมพิวเตอร์นี่แหล่ะ 

ฉะนั้นเพื่อให้คุณสามารถเรียกข้อมูลกลับมาใช้ได้อย่างรวดเร็ว คุณจำเป็นต้องบริหารจัดการความทรงจำ ด้วยการจัดเก็บข้อมูลไว้เป็นไฟล์แห่งความทรงจำ (Memory files) อย่างมีระบบและมีระเบียบ เพื่อจะได้เรียกใช้ได้ง่ายขึ้น

====

3. ฝึกจำเป็นภาพ (Picture)

ขั้นตอนนี้ เป็นการสร้างภาพต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากสมองของเรามักจำภาพได้มากกว่าข้อมูลแบบอื่น เราจึงจำเป็นต้องจินตนาการถึงสิ่งที่ต้องการจำเป็นภาพที่คุ้นเคย หรือภาพที่สะดุดตา

เช่น อยากจำคำว่า การทำงานเป็นทีม (Teamwork) ก็ให้นึกเป็นภาพผู้คนกำลังร่วมมือกันทำงานอยู่ เป็นต้น 

พูดง่ายๆ ก็คือ อะไรก็ตามที่เราต้องการจำจะต้องแปลงให้อยู่ในรูปแบบของภาพเสมอเพื่อให้สมองมองเห็นและจดจำได้ หรือกล่าวได้ว่า เมื่อรู้ว่าสมองเราชอบจำเป็นภาพ  เราก็ถอดรหัสสิ่งต่างๆ ให้เป็นภาษาของสมอง เพื่อบันทึกเรื่องราวต่างๆ ลงไปได้ง่ายและมากขึ้นนั่นเอง

====

4. ตรึงให้มั่น (Glue)

ขั้นตอนนี้เป็นการเชื่อมข้อมูลที่เราต้องการจำ ให้ได้รับการบันทึกอยู่ในสมองได้นาน  Ron พบเคล็ดลับว่า การที่เราจะจำบางสิ่งบางอย่าง สิ่งนั้นต้องมีความโดดเด่นเพียงพอที่จะติดตรึงอยู่ในความทรงจำ มันต้องกระทบกับความรู้สึก (Feeling) ของเราอย่างรุนแรง

หากคุณลองสังเกตช่วงชีวิตที่ผ่านมา คุณจะเห็นว่าความจำจะติดตรึงอยู่ได้ก็ต่อเมื่อภาพนั้นมีความ เคลื่อนไหว มีความรู้สึก หรือมีสิ่งพิเศษบางอย่างมาเชื่อมโยงกับเรา

และนี่เป็นคำตอบว่าทำไมคุณจึงสามารถนึกถึงรายละเอียดของเรื่องเศร้าที่ทำให้คุณเสียใจมากๆ หรือเรื่องที่ประทับใจสุดๆ เมื่อ 20 ปีก่อนได้อย่างแม่นยำ

เทคนิคของรอนคือ ภาษาภาพที่คุณสร้างขึ้นมาเพื่อจะจดจำ นั้นจะต้องเป็นภาพที่ติดตรึงในความทรงจำได้ดี มีความเคลื่อนไหว มีความรู้สึกร่วมอยู่ในนั้นด้วย

และหากเป็นภาพที่มีความพิเศษมากก็จะยิ่งช่วยให้จำได้ดีขึ้น ทำได้ง่ายๆ ด้วยการติดตรึงความจำเอาไว้ ด้วยการจินตนาการถึงความรู้สึกและการเคลื่อนไหวต่างๆ ลงไปในเนื้อหาของสิ่งที่จะจำนั่นเอง

====

5. หมั่นทบทวน (Review)

การทบทวนสิ่งที่บันทึกไว้ในความทรงจำ เป็นอีกขั้นตอนที่ทำให้เราสามารถจำสิ่งต่างๆ ได้ในระยะยาว เปรียบเทียบกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีการรีเฟรช (Refresh) หรือ อัพเกรด (Upgrade) โปรแกรมอยู่เสมอ

Ron ได้แนะนำเทคนิคง่ายๆ สำหรับขั้นตอนนี้ไว้ว่า ถ้าคุณต้องการจดจำชื่อผู้คนที่ได้พบมา เมื่อตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่  ให้ถามตัวเองว่า เมื่อวานนี้เราได้พบใครบ้าง เพื่อจะทบทวนรายชื่อของคนที่เราได้พบ แล้วดูว่ามีกี่คนที่คุณสามารถจำได้ ตรงนี้ถือเป็นแบบฝึกหัดที่ช่วยเพิ่มเติมข้อมูลลงไปในระบบบันทึกข้อมูลส่วนตัว คล้ายการ Upload ข้อมูลใหม่ใส่สมองนั่นเอง 

นักวิจัยได้นำสมองของไอน์สไตน์ มาวิเคราะห์ พบว่าไม่ได้มีขนาดใหญ่ไปกว่าคนทั่วไป เลย

ดังนั้นเราทุกคนมีสมองที่สุดอัจฉริยะอยู่แล้ว เพียงแต่ยังใช้ไม่เป็นเท่านั้น หากเราสามารถใช้ศักยภาพสมองได้เต็มที่แบบนี้ เราจะบรรลุถึงเป้าหมายและความสำเร็จในชีวิต ทั้งในด้านการงาน และชีวิตส่วนตัว ได้อย่างแน่นอน

ฝึกสมองแล้ว อย่าลืมฝึกฝนจิตใจควบคู่กันไปด้วย อ่าน ผู้นำยุคใหม่ฝึกจิตใจเพื่อสร้างทีม คลิกที่นี่

====

ผู้บริหาร ผู้จัดการ และเจ้าของธุรกิจที่ต้องพัฒนาการทำงานของสมอง ต่อยอดสู่การพัฒนา Mindset และทักษะในการทำงานเป็นผู้นำในโลกยุคใหม่ เราขอแนะนำหลักสูตร The New Leadership Skill ดูรายละเอียดคลิกที่นี่

บทความโดย

อ. เรือรบ จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์

CEO และผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

 

เพิ่มความสำเร็จให้องค์กรด้วยการปลูกฝัง Entrepreneurship Mindset ให้ทีมงานของคุณ

เพิ่มความสำเร็จให้องค์กรด้วยการปลูกฝัง Entrepreneurship Mindset ให้ทีมของคุณ

ในฐานะเจ้าของกิจการ ผมมีหนึ่งความลับที่อยากจะมาแบ่งปัน

มันเป็นความลับในการช่วยให้ธุรกิจผ่านพ้นปัญหา ก้าวข้ามอุปสรรค และเติบโตขึ้นกว่าเดิมแม้จะพบเจอความเปลี่ยนแปลงมากมายขนาดไหนก็ตาม

และที่สำคัญที่สุด นี่คือความลับที่ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจเก่ง ๆ ซึ่งเคยนำพาธุรกิจให้เติบโตท่ามกลางวิกฤตไม่เคยบอกคุณมาก่อน

===

หัวใจของความสำเร็จของธุรกิจคือการพัฒนา Mindset ของคน

คนเก่งที่มีทักษะ ความสามารถ มีมันสมองเป็นเลิศ บริหารจัดการตัวเองได้ดีเยี่ยม เป็นทรัพยากรบุคคลที่ทุกบริษัทต้องการตัว แต่สิ่งสำคัญซึงเป็นรากฐานของทุกสิ่งที่กล่าวไปซึ่งน้อยคนจะพูดถึงก็คือ ทัศนคติ หรือ หลักคิด หรือ Mindset ของคน ๆ นั้น

ไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าองค์กรคุณมีคนที่เก่งและฉลาดสุด ๆ แต่มี Mindset ที่ไม่ดี หรือ พูดให้ตรงกว่านั้นก็คือ มี Mindset ที่ไม่ได้ช่วยให้องค์กรเติบโต

ซึ่งหนึ่งใน Mindset ที่จะช่วยให้องค์กรก้าวข้ามปัญหาและเติบโตท่ามกลางวิกฤตได้ก็คือ  Entrepreneurship Mindset หรือ ทัศนคติของการเป็นผู้ประกอบการ

คุณอาจจะตั้งคำถามว่าเพราะอะไรพนักงานหรือทีมงานจะต้องมีทัศนคติของผู้ประกอบการด้วย ในเมื่อเขาไม่ใช่ผู้ประกอบการนี่นา จริงอยู่ครับที่ถ้ามองในนิยามหรือความหมายแบบตรงตัวแล้ว พนักงานของเราจะไม่ใช่ผู้ประกอบการโดยตรง แต่ถึงอย่างไรทัศนคติของผู้ประกอบการก็จำเป็นต่อการทำงานแบบมืออาชีพเป็นอย่างมาก

===

ทัศนคติที่แตกต่างกันของ ‘ลูกจ้าง (Employee) กับ ‘ผู้ประกอบการ ( Entrepreneur)’

เพื่อให้คุณเข้าใจเรื่องนี้มากขึ้น ผมจะยกตัวอย่างทัศนคติหรือหลักคิดที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของคนสองแบบ (ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับตำแหน่งงานนะครับ) นั่นคือ คนที่มองว่าตัวเองคือลูกจ้าง กับ คนที่มองว่าตัวเองคือผู้ประกอบการ คนหนึ่ง

ด้านเป้าหมาย

ลูกจ้างจะต้องการความมั่นคง (Security) VS  ผู้ประกอบการจะมองหาการเปลี่ยนแปลง (Change)

ลูกจ้างโหยหาความมั่นคงปลอดภัยเป็นชีวิตจิตใจ เขาจึงไม่กล้าเสี่ยง ไม่คิด ริเริ่ม ทำอะไรใหม่ ๆ และหวาดกลัวปัญหา อุปสรรค ความท้าทายที่เข้ามาเป็นอย่างมาก

ด้วยทัศนคติเช่นนี้ทำให้เขาทำอะไรแบบพอผ่านไปวัน ๆ ไม่คิด ริเริ่มทำอะไรใหม่ ๆ แม้ว่าสิ่งที่ทำอยู่จะไม่เวิร์ค หรือ ยังดีไม่สุด(มันสามารถทำให้ดีเยี่ยมกว่านี้ได้)

ส่วนผู้ประกอบการคือคนที่มองหาความเปลี่ยนแปลง เขารู้ดีว่าทุกวิกฤตและปัญหาที่ผ่านเข้ามามีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ เขายอมรับความจริงที่ว่าทุกสิ่งในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอนเสมอ พวกเขาจึงไม่กลัวความเปลี่ยนแปลง ไม่กลัว ปัญหา แถมยังพยายามคิดและทำสิ่งใหม่ ๆ ให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมออีกด้วย

===

ด้านอารมณ์

ลูกจ้างจะหวาดกลัว (Fear) VS ผู้ประกอบการจะมีไฟ (Motivation)

สอดคล้องกับด้านเป้าหมายที่ได้บอกไป เมื่ออยู่ด้วยภาวะยึดมั่นในความมั่นคงปลอดภัย ลูกจ้างก็จะเกิดความกลัวท่วมท้นใจ คนกลุ่มนี้จะหวาดผวากับความเปลี่ยนแปลงและปัญหาต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาเป็นอย่างมาก และภาวนาไม่ให้เกิดปัญหาใดใด

รวมถึงเมื่อเกิดปัญหาขึ้นจริง ๆ พวกเขาจะเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากในการบ่น ด่า ว่า แก้ตัว และโทษคนอื่น สิ่งอื่นนอกตัว

ส่วนผู้ประกอบการนั้นเมื่อตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด พวกเขาจึงมองว่าทุกปัญหา ทุกการเปลี่ยนแปลงคือเรื่องปกติและโอกาสที่เข้ามาให้ได้เสี่ยง  พวกเขามีไฟอยู่ภายในที่พร้อมจะเผชิญความท้าทายเหล่านั้นและสร้างความสำเร็จจากความท้าทายเหล่านั้นด้วย

===

ด้านคาแรคเตอร์

ลูกจ้างจะเป็นคนล้มแล้วเลิก (Vulnerability) VS ผู้ประกอบการจะเป็นคนล้มแล้วลุก (Resilience)

แน่นอนว่าทุกคนจะต้องพบเจอปัญหา อุปสรรค ความไม่สะดวกสบาย ซึ่งมีทั้งขนาดเล็กๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่และซับซ้อน  คนที่มองว่าตัวเองเป็นลูกจ้างเมื่อพบเจอปัญหาจะเข็ดขยาด

เขาอาจไม่กล้าทำสิ่งนั้นต่อ หลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ต้องพบเจอเรื่องคล้ายเดิม หรือ แย่ไปกว่านั้นก็คือ ไม่สามารถลุกขึ้นยืนหยัดได้ใหม่ทำให้ปัญหาลุกลามบานปลายหรือสะสมเรื้อรัง

ส่วนผู้ประกอบการคือคนจำพวก Resilience คือ ล้มแล้วลุกขึ้นใหม่อีกครั้ง คนกลุ่มนี้เหมือนคนที่ฆ่าไม่ตาย ไม่ใช่ว่าจะไม่เศร้า เสียใจ หรือไม่ท้อ ไม่เครียดเวลาเจอปัญหา พวกเขามีความรู้สึกเหล่านั้นไม่ต่างจากลูกจ้าง

สิ่งที่ต่างกันคือพวกเขากำหนดขอบเขตความเศร้าเสียใจ ผิดหวังเอาไว้ แล้วสามารถลุกขึ้นมาได้ใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาหรือปล่อยวางเรื่องที่แก้ไม่ได้แล้วทำสิ่งอื่นต่อไป

===

ด้านความรับผิดชอบ

ลูกจ้างจะรับผิดชอบตามหน้าที่ (Responsibility) VS ผู้ประกอบการจะรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ (Accountability)

นี่คืออีกหนึ่งความแตกต่างที่ส่งผลอย่างมหาศาล ลูกจ้างทำตามบทบาทหน้าที่แค่ให้เสร็จไปวัน ๆ คำว่า คุณภาพเป็นเลิศ หรือ คุณภาพเหนือกว่าความคาดหวังของลูกค้าเป็นสิ่งที่ไม่เคยอยู่ในหัวของลูกจ้าง

ส่วนผู้ประกอบการจะโฟกัสที่ผลลัพธ์ เขาอาจไม่ได้ทำตาม Job Description ที่วางไว้แบบเป๊ะ ๆ แต่เขาคำนึงถึงคุณภาพของผลลัพธ์ ความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้ที่เขาส่งมอบงานเป็นหลักนั่นเอง

===

สรุปองค์ประกอบของ Entrepreneurship Mindset in Organization

เมื่อเข้าใจความต่างระหว่างคนที่มองว่าตัวเอง(เป็นแค่) ลูกจ้าง กับ คนที่มองว่าตัวเองคือ ผู้ประกอบการ คนหนึ่งแล้ว คุณจะเห็นภาพแล้วว่าเพราะอะไรเราถึงควรปลูกฝังทัศนคติของผู้ประกอบการให้แก่ทีมงานของเรา

และทั้งหมดนี้คือองค์ประกอบที่สำคัญของ Entrepreneurship Mindset

  • Drive for Change (มีแรงขับดันจากภายใน)
  • Self – Motivation (สร้างไฟให้ตัวเองได้)
  • Resilience (ล้มแล้วลุก มีความถึกทน)
  • Accountability (มีความรับผิดชอบที่แท้จริง)

คำถามก็คือ แล้วเราจะปลูกฝังหรือพัฒนา Entrepreneurship Mindset ให้ทีมงานได้อย่างไร ผมจะบอกวิธีการที่ผมใช้จริงกับองค์กรของตัวเองและนำไปถ่ายทอดให้แก่องค์กรที่ผมเป็นที่ปรึกษาแล้วประสบความสำเร็จมากกว่าสิบองค์กร

===

วิธีการพัฒนา Entrepreneurship Mindset ให้พนักงาน

การจะพัฒนา Entrepreneurship Mindset ขึ้นมาได้ คุณกับพนักงานจำเป็นจะต้องรู้เรื่องสำคัญอย่างน้อย 2 เรื่อง

เรื่องที่ 1 ระยะห่างระหว่างจุดสองจุด

จุด A = ตอนนี้เราอยู่ที่ไหน

จุด B = ปลายทางที่เราต้องการจะไปอยู่ที่ไหน

คุณกับคนในทีมจำเป็นต้องพูดคุยเพื่อให้เห็นภาพจุดทั้งสองให้ชัดเจนที่สุด เพื่อจะได้มองเห็นว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองมีมากแค่ไหน ต้องใช้เวลาในการเดินทางนานแค่ไหน แล้วระหว่างทางอาจมีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นบ้าง

หนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการสร้าง Entrepreneurship Mindset คือ ความคิดที่ว่าทุกสิ่งที่ทำออกมาต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่ครั้งแรก ซึ่งแก้ได้โดยการ ปรับวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงด้วย Agile Mindset คลิกอ่านที่นี่

===

เรื่องที่ 2 Talent Level Model

นี่คือโมเดลที่เปรียบเหมือนแผนที่ Mindset ของคน มันจะช่วยให้คุณเข้าใจคนในองค์กรได้มากขึ้นว่าตอนนี้คนไหนมี Mindset อยู่ ณ จุดไหน นำไปสู่การเลือกวิธีการพัฒนา Mindset ของเขาได้ดีขึ้นด้วย

โมเดลนี้จะแบ่งคนตามระดับ Mindset ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของความคิดและพฤติกรรมของคน ๆ นั้น เราจะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าคน ๆ นี้มี Mindset ที่เข้าใกล้ความเป็นผู้ประกอบการมากกว่าลูกจ้างหรือไม่

ประโยชน์ของการเรียนรู้ Talent Level Model

  • ทำให้เข้าใจถึงรากของพฤติกรรมและความคิดของตัวเองและคนในทีม
  • ทำให้เห็นอุปสรรคหรือสิ่งที่ฉุดรั้งการเติบโตของคนแต่ละคน
  • ได้รู้วิธีการและขั้นตอนในการพัฒนา Mindset ของเราและคนในทีมให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ซึ่งรายละเอียดเรื่อง Talent Level Model นั้นมีเยอะมาก ไม่สามารถเขียนอธิบายอย่างละเอียดได้ในบทความนี้ ซึ่งถ้าคุณต้องการเรียนรู้และฝึกฝนโมเดลนี้ ตลอดจนเทคนิควิธีการพัฒนา Entrepreneurship Mindset ให้แก่คนในทีมของคุณ ผมมีโปรแกรมที่สามารถพัฒนาและต่อยอดให้พนักงานของคุณกลายเป็นผู้ประกอบการภายในองค์กรอย่างเต็มตัวแม้ว่าเขาจะไม่เคยมีหลักคิดหรือพฤติกรรมแบบผู้ประกอบการมาก่อนเลยก็ตาม

โปรแกรมนี้ชื่อ Corporate Entrepreneurship Program ดูรายละเอียดที่นี่ 

===

บทความโดย

อ.พีท ชวรณ ธีระกุลชัย   

Business Transformation Coach   

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข 

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 0939254962

5 เคล็ดลับ เปลี่ยนคนเบื่องาน ทะยานสู่ TOP 5 ในออฟฟิศ

ยอมรับมาซะดีๆ ว่าคุณเคยแอบอิจฉาคนในที่ทำงานที่ได้ดิบได้ดี เป็นลูกรักของ Boss แถมโบนัสและเงินเดือนก็ยังเกินหน้าเกินตาเพื่อนร่วมงานไปหลายเท่า

หลายต่อหลายครั้งที่ต้องยอมรับในความสามารถของคนที่ได้ชื่อว่าเป็นพนักงานระดับ Top 5 ในออฟฟิศ

ความสามารถที่เขาเหล่านั้นไม่ได้มาเพราะโชคช่วย ไม่ได้มาจากการประจบสอพลอ

และหลายต่อหลายคนคิดว่าความสามารถของคนระดับ Top 5 เกิดขึ้นเพราะเขามี ‘พรสวรรค์’ 

====

ความเชื่อเหล่านั้นทำให้หลายคนหยุดพัฒนาการทำงานของตัวเอง ซึ่งตามมาด้วยความรู้สึกหมดหวังต่อความก้าวหน้าในงานที่ทำอยู่ จนอาจกลายเป็นอาการเบื่องานในไม่ช้า

ทั้งที่ ในความเป็นจริงแล้วพนักงานระดับ Top 5 ก็ไม่ได้มีสิ่งใดเหนือกว่าพนักงานระดับธรรมดาๆ เลย ต่างกันเพียงแค่เรื่องเดียวเท่านั้น

นั่นคือ  ‘ความสามารถในการเรียนรู้ที่รวดเร็ว’

====

โชคดีที่ความสามารถนี้เป็นสิ่งที่สามารถสร้างได้ด้วยตัวเอง และ ต่อไปนี้ คือ 5 เคล็ดลับ ที่จะทำให้คุณมีศักยภาพในการเรียนรู้รวดเร็ว

1.สร้างสภาพแวดล้อมที่สงบ

ขั้นตอนแรกของการเรียนรู้  มิใช่แค่การฟังหรือการอ่าน แต่เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้

สภาพแวดล้อมที่เงียบ สงบ และปราศจากสิ่งรบกวนที่จะมาดึงความสนใจของคุณจากสิ่งที่กำลังเรียนรู้ จะช่วยให้จิตใจเกิดสมาธิ 

TIP : ควรให้ความสำคัญกับการจัดโต๊ะทำงานและบริเวณโดยรอบให้อยู่ในบรรยากาศที่เงียบ สงบ ปราศจากสิ่งรบกวน ควรปิดเสียงเครื่องมือสื่อสาร และไม่ควรตั้งไว้บนโต๊ะทำงาน ควรเก็บไว้ในลิ้นชักเพราะจะได้ไม่รบกวนสายตาซึ่งจะส่งผลดีต่อการสร้างสมาธิในการทำงานมากกว่า

====

2.ใช้จินตนาการช่วยในการเรียนรู้

ทฤษฎีทางจิตวิทยา สรุปได้ว่า มนุษย์เรียนรู้และจดจำเป็นภาพ มิใช่คลื่นเสียงหรือตัวอักษร  ดังนั้น ก่อนจะเรียนรู้งานเรื่องใดให้คุณลองจินตนาการว่า

เมื่อคุณได้รับความรู้นั้นแล้ว จะนำไปทำอะไรบ้าง ในขณะฟังหรืออ่านให้ค่อย ๆ ลำดับความคิดเป็นภาพ

วิธีการนี้เป็นการเปิดจิตใต้สำนึกให้ค่อย ๆ ดูดซับความรู้ใหม่เข้าไปไว้ในความทรงจำ นอกจากนี้การทบทวนความรู้ใหม่ในตอนกลางคืน โดยเฉพาะ 30 นาที ก่อนนอน ยังช่วยให้จิตใต้สำนึกจดจำภาพต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน และสามารถประมวลผล

เพื่อดึงกลับมาใช้ได้อย่างแม่นยำในวันหน้า

TIP : ทุกครั้งที่ได้รับมอบหมายงานที่ไม่เคยทำ ก่อนที่จะบ่นว่ายากให้เปลี่ยนเป็นการฝึกตั้งคำถามกับตัวเองว่า

งานนี้องค์กรจะนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง ?

เราจะได้เรียนรู้สิ่งใดจากงานนี้ ?

เราจะทำงานนี้ให้ดีที่สุดได้อย่างไร ?

====

3.  จดบันทึกสั้น ๆ

รูปแบบการเรียนรู้หลัก ๆ ที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่เป็นทารก คือ เรียนรู้จากการฟัง (AUDITORY) และเรียนรู้จากการมองเห็น (VISUAL) ซึ่งการเรียนรู้จากการมองเห็นจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการฟัง

เนื่องจากเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างตากับสมองมีจำนวนมากกว่าเส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างหูกับสมองถึง 22 เท่า แต่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่สุด กลับเป็นการเรียนรู้จากการใช้มือเขียนบันทึกข้อมูลหรือการโน้ตย่อ

เพราะช่วยให้เส้นประสาทที่เชื่อมระหว่างสมองกับตา และสมองกับหูสามารถทำงานไปพร้อม ๆ กัน

กล่าวคือในระหว่างคุณจดบันทึกข้อความ สมองของคุณจะเห็นภาพและได้ยินเสียงเกี่ยวกับข้อมูลที่กำลังจดบันทึกในเวลาเดียวกัน

วิธีการจดบันทึกจึงเป็นเสมือนทางลัดที่ใช้ในการส่งข้อมูลความรู้เข้าไปจัดเก็บไว้ในคลังสมอง

Tip : ฝึกจดบันทึกประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากงานชิ้นใหม่ๆ ที่เพิ่งเคยทำ หรือ งานชิ้นเดิมๆ ที่เคยทำผิดพลาด รายละเอียดของงานในแต่ละขั้นแต่ละตอน หมั่นนำมาอ่านทบทวนสัปดาห์ละครั้ง เพื่อสะสมความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ตรงไว้ในคลังสมอง

====

4.  แบ่งปันความรู้ใหม่ให้กับผู้อื่น

สิ่งที่น่าตกใจ คือ ความรู้ใหม่ที่เพิ่งได้เรียนรู้ กว่า 90 % ไม่ว่าจะมาจากการฟัง การอ่าน หรือการเขียนก็ตาม จะคงอยู่ในสมองได้ไม่นานนัก

หากคุณไม่รีบนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน สมองจะสั่งการว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของคุณ และจะค่อยๆ โละความรู้นั้นทิ้งในเวลาต่อมาเพื่อไม่ให้เป็นภาระสมอง 

ดังนั้น วิธีการที่ง่ายที่สุดในการเก็บความรู้ใหม่ให้คงอยู่ในคลังสมองตลอดไป คือ การพูดคุยเพื่อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนสิ่งที่เพิ่งได้เรียนรู้ให้แก่คนในชีวิตประจำวันของคุณ เช่น เพื่อน คนรัก พี่น้อง

ซึ่งถือเป็นการย้ำเตือนกับสมองว่าเรื่องที่แบ่งปันเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตประจำวันห้ามลบทิ้งโดยเด็ดขาด

Tip : หาเวลาว่างสักวันละ 5 นาที พูดคุยเรื่องราวดีๆ ที่ได้เรียนรู้มาจากการทำงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ให้คำแนะนำซึ่งกันและกัน แทนการสุมหัว ตั้งวง บ่น นินทา เม้ามอย ฯลฯ

====

5.  ดื่มน้ำและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เป็นวิธีที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่ง เนื่องจากสมองส่วนหน้าของมนุษย์มีไว้เพื่อทำหน้าที่ในการเรียนรู้และจดจำ ดังนั้น สมองส่วนหน้าจึงมีความต้องการใช้ออกซิเจนในเลือดในปริมาณที่เพียงพอเพื่อเพิ่มเซลสมองให้ส่วนนี้

การดื่มน้ำและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เป็นวิธีการที่ใช้ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าได้อย่างทั่วถึง จึงถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการสร้างสมองอัจฉริยะ

Tip : บนโต๊ะทำงานของคุณควรมีกระติกน้ำ หรือ ขวดน้ำที่มีความจุประมาณ 1 ลิตร ตั้งไว้ เพื่อเป็นการเตือนความจำให้คุณค่อยๆ หยิบมาจิบไปเรื่อยๆ ระหว่างนั่งทำงาน 8 – 10 ชั่วโมง และหลังเลิกงานควรแบ่งเวลาออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 15 – 30 นาที

====

อีกหนึ่งวิธีต่อยอดทักษะความสามารถในการเรียนรู้อย่างรวดเร็วเพื่อการประสบความสำเร็จในงาน อ่าน  3 เคล็ดลับที่การเรียนรู้ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้มากขึ้น คลิกที่นี่

เคล็ดลับง่ายๆ ทั้ง 5 ข้อ คงเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ว่าพรสวรรค์ ไม่ใช่สิ่งที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด

อันที่จริงแล้ว “พรสวรรค์เป็นสิ่งที่เราต้องลงทุน”  การลงทุนที่ดีที่สุด ก็คือการลงทุนกับการเรียนรู้

อย่าลืมใส่ใจดูแลสมองและร่างกายให้พร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ เพื่อสร้างความสำเร็จในการทำงานให้ทะลุอันดับ Top 5 Top 3 ไปจนถึง Number 1 กันนะครับ

====

วิธีการสำคัญที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้รวดเร็วก็คือการพัฒนา Growth Mindset ในการทำงาน ขอแนะนำหลักสูตร Growth Mindset for Effective Work ดูรายละเอียดที่นี่

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

 

7 อุปนิสัยของคนที่มี EQ สูง

งานวิจัยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ (Emotional Intelligence) เป็นตัวชี้วัดความสุขและความสำเร็จในชีวิต

แม้ว่า EQ จะเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น จับต้องได้ยาก แต่มันจะปรากฎออกมาในพฤติกรรมของแต่ละคน ทั้งด้านความสามารถในการเข้าสังคม การรับมือกับสถานการณ์ที่ยาก กระบวนการตัดสินใจ และมุมมองในชีวิต เป็นต้น

ปัจจุบันเราสามารถทดสอบ EQ ของคนทั่วไปได้ แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสูง อย่างไรก็ตามงานวิจัยจากผู้คนหลายพันคนทำให้ได้พบว่า มีอุปนิสัยและพฤติกรรมบางอย่างที่บ่งชี้ว่าคนเหล่านี้มี EQ ที่สูงกว่าคนทั่วไป ได้แก่ 

====

1. สามารถบ่งบอก ‘ภาวะอารมณ์’ ของตัวเองได้

มนุษย์ทุกคนมีอารมณ์ความรู้สึก  แต่เชื่อไหมว่า มีคนเพียง 36% เท่านั้น ที่สามารถบอกได้ว่า ขณะนี้ตัวเองรู้สึกอย่างไร

คนทั่วไปไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกจึงมักปฏิเสธ หรือกดทับอารมณ์ของตัวเอง คนที่มี EQ สูง จะสามารถบ่งบอก และแยกแยะระดับอารมณ์ได้อย่างละเอียดชัดเจน เช่น

ตอนนี้รู้สึกแย่ หงุดหงิด รำคาญ ขุ่นเคือง โกรธ กังวล กระวนกระวาย ว้าวุ่น ฟุ้งซ่าน ยิ่งสามารถอธิบายได้ละเอียดมากเท่าไหร่ แสดงว่าเขารู้จักตัวเองดีมากเท่านั้น

====

2. ใส่ใจผู้คน และไม่ด่วนตัดสินคนอื่น

คนมี EQ สูงนั้นจะมีความห่วงใยใส่ใจผู้คนที่อยู่รอบๆตัวของเขา จะไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางในการคิดหรือตัดสินใจ แต่จะมองรอบๆตัวว่าจะทำให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายได้มากที่สุดอย่างไร

เมื่อต้องเจอกับคนที่ขี้หงุดหงิด ขี้วีน เขาจะรักษาระดับอารมณ์ไม่ให้ขึ้นไปตามสิ่งที่มากระทบ เขามองว่าคนเหล่านี้อาจกำลังเผชิญกับปัญหาส่วนตัวอยู่ และรู้ว่าไม่มีใครถูกหรือผิดไปซะทุกอย่าง ดังนั้นเขาจะไม่ด่วนตัดสินคน และจะสื่อสารโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์

====

3. ยอมรับความเปลี่ยนแปลง โดยไม่มองหาความสมบูรณ์แบบ

เขาคือคนที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตลอด เขารู้ว่าความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง คืออุปสรรคต่อความสำเร็จและความสุขในชีวิต เขาจึงมองว่าความไม่แน่นอน คือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ และก็พร้อมที่จะเผชิญกับสิ่งเหล่านั้น

เขาจะไม่ตั้งเป้าหมายถึงความสมบูรณ์แบบ เพราะรู้ว่ามันไม่มีอยู่จริง แทนที่จะมองว่าตัวเองห่างจากความสมบูรณ์แบบมากแค่ไหน เขาจะมองว่าตัวเองทำอะไรสำเร็จมาแล้วบ้าง และจะทำอะไรต่อไปมากกว่า

====

4. รู้จักและรู้เท่าทันตัวเองจึงไม่โกรธง่าย ๆ

คนที่มี EQ สูงจะรู้ว่าตัวเองถนัดอะไร และจะปรับใช้สิ่งเหล่านั้นมากขึ้นเพื่อสร้างความได้เปรียบ ขณะเดียวกันก็จะเก็บจุดอ่อนเอาไว้ ไม่ให้มาฉุดรั้งตัวเอง

เขารู้ดีว่าอะไรเป็นสิ่งที่จะมากดปุ่มให้ตัวเองโกรธหรือเสียใจ และอะไรที่จะสร้างกำลังใจไปสู่ความสำเร็จ เขาจะเป็นผู้ “เลือกตอบสนองต่อสถานการณ์” ไม่ใช่ “เป็นเหยื่อของสถานการณ์” ที่เกิดขึ้น

ไม่ใช่ว่าโกรธไม่เป็น แต่ด้วยความที่เขารู้จักตัวเองดี จึงมีความมั่นใจในและเคารพในตัวเอง ดังนั้นแม้ว่าจะมีใครมาแหย่ให้โกรธ พูดจาดูถูก หรือล้อเลียน เขาจะไม่ถือเป็นอารมณ์ เพราะลึกๆแล้วเขารู้ว่า นั่นเป็นเพราะอีกฝ่ายอิจฉา และรู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอต่างหาก

====

5. รู้ว่าเมื่อไหร่ควรปฏิเสธและปฏิเสธเป็น

คนมี EQ สูง รู้ความต้องการของตัวเอง และควบคุมตัวเองได้ เขารู้ว่ายิ่งอดทนมากไป ยิ่งจะสร้างความเครียด ดังนั้นเขาจึงเลือกที่จะพูดว่า “ไม่” อย่างสุภาพ โดยที่ไม่รู้สึกแย่หรือกังวลภายหลัง

เขารู้ว่าการใช้คำว่า “บางที ไม่แน่ใจ อาจจะ ดูอีกทีนะ” ยิ่งจะทำให้เกิดความคาดหวัง และอึดอัดทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้นเค้าจะให้คำสัญญาหรือตอบรับ ก็ต่อเมื่อเค้าหมายความถึงสิ่งที่พูดจริงๆ เท่านั้น

====

6. ยอมให้ตัวเองผิดพลาดได้

คนมี EQ สูง ตระหนักดีว่า “ความผิดกับตัวเขา” ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ดังนั้นเขาจะให้อภัยตัวเองได้เร็ว เมื่อเกิดความผิดพลาด เขาจะมองหาบทเรียนที่ได้รับ และนำไปปรับปรุงสำหรับครั้งต่อไป

เขาไม่ลืมความผิดนั้น แล้วก็ไม่ “จมอยู่กับความผิด” มันจะเป็นเพียงความทรงจำที่เตือนใจไม่ให้ทำผิดซ้ำ และความผิดที่ดูลำบากหนักหนาในครั้งนี้ เป็นสิ่งที่จะทำให้เค้าลุกขึ้นได้ง่ายและเร็วขึ้นในครั้งต่อไป

ถ้ายึดติดกับความผิดพลาดหรือสิ่งที่ไม่เป็นไปตามใจมาก ๆ มักจะทำให้เกิดความเครียด อ่าน 5 วิธีรับมือกับความเครียดในการทำงาน เพื่อเรียนรู้และฝึกฝนไปด้วยกัน คลิกที่นี่

====

7. รู้ว่าเมื่อไรควรหยุดและพัก 

คนมี EQ สูงนั้นมักจัดสรรเวลา “หยุดพัก” ให้กับตัวเองอย่างสม่ำเสมอ แม้เขาจะทำงานหนัก และมีเรื่องต้องทำมากมาย แต่เค้าก็หาเวลา “ออฟไลน์” ให้กับตัวเองได้ การปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด ออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์และงาน ไม่ต้องติดต่อหรือพูดคุยกับใคร คือการมอบ “ช่วงเวลาเงียบ” ให้กายและใจได้หยุดพักอย่างแท้จริง

การที่ได้มีเวลาทบทวน ใคร่ครวญกับตัวเอง ทำให้เขากลับมาทำงานได้อย่างสดชื่น มีชีวิตชีวา และเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง

7 อุปนิสัยของผู้มี EQ สูง ทำให้เราสามารถประเมินตัวเองคร่าวๆ ได้ว่ายังขาดตกบกพร่องในข้อใด เพราะระดับ EQ ของเรานั้น แปรผันโดยตรงกับความสุขในชีวิต EQ และความสุข ต่างก็เป็น “ทักษะ” ที่ฝึกฝนได้ และส่งต่อได้

อ้างอิงจาก Travis Bradberry ผู้เขียนหนังสือ Emotional Intelligence 2.0

====

ถ้าคุณต้องการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อบริหารจัดการอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้  ขอแนะนำหลักสูตร Emotion  Intelligence  คลิกดูรายละเอียดที่นี่

บทความโดย

อ.เรือรบ  จิณณ์ณัฏฐ์ พรหมนุรักษ์ 

ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาภาวะผู้นำ 
CEO ผู้ก่อตั้ง Learning Hub Thailand 

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

Categories EQ

บริหารเวลาให้ดีขึ้นด้วยการจัดการเรื่องสำคัญที่ไม่เร่งด่วน

บริหารเวลาให้ดีขึ้นด้วยการจัดการเรื่องสำคัญที่ไม่เร่งด่วน

คุณคงจะเคยเห็นบรรดาคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตที่สามารถทำงานสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ

พวกเขาทำธุรกิจหลัก ธุรกิจรอง ธุรกิจเสริม จนมีรายได้เข้ามาหลายช่องทาง คนเหล่านี้ยังมีเวลาไปออกกำลังกาย ดูแลครอบครัว อ่านหนังสือ และทำงานช่วยเหลือสังคมอีกด้วย

ดู ๆ ไปแล้วเหมือนคนเหล่านี้จะมีเวลาในหนึ่งวันที่มากกว่าเรา  ก็ขนาดเราทำอะไรน้อยกว่าพวกเขาหลายเท่า แต่ทำไมยังทำไม่ทันเลย พวกเขามีเคล็ดลับอะไรที่เราไม่เคยรู้เช่นนั้นหรือ

====

ทบทวนกิจกรรมในชีวิตทั้ง 4 ประเภท

คุณน่าจะรู้จัก Eisenhower matrix หรือ ตารางสำคัญ – เร่งด่วน ที่ใช้ในการบริหารเวลากันมาบ้างแล้ว เพราะทุกโรงเรียนที่สอนการบริหารจะต้องพูดถึงเรื่องนี้ ซึ่งผมเองก็ใช้ตารางนี้ในการบริหารเวลามานานหลายปีเพราะเป็นหนึ่งในเครื่องมือบริหารเวลาที่ทรงพลังที่สุด

ขอทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตารางนี้เพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกันก่อน ตารางนี้เกิดจากแกนหลักสองแกนคือ แกนตั้งซึ่งเป็นแกนของกิจกรรมที่สำคัญ – ไม่สำคัญ และแกนนอนซึ่งเป็นแกนของกิจกรรมที่เร่งด่วน – ไม่เร่งด่วน

เมื่อนำแกนทั้งสองมาตั้งฉากแล้วลากเส้นแบ่งให้เป็นสี่ช่อง ก็จะได้ช่องในการนำกิจกรรมทั้งหมดในชีวิตมาจัดกลุ่มทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้

  1. กิจกรรมสำคัญและเร่งด่วน คือ งานที่ต้องส่งภายในวันนี้ ชั่วโมงนี้ ตอนนี้ งานแทรก หรือ งานดับไฟทั้งหลาย

  2. กิจกรรมสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน คือ งานที่มีความสำคัญในชีวิตแต่ไม่มีกำหนดการส่งมอบที่แน่นอน เช่น การวางแผน การพัฒนาทักษะในการทำงาน การออกกำลังกาย การพัฒนาความสัมพันธ์ การบริหารเงิน เป็นต้น

  3. กิจกรรมไม่สำคัญแต่เร่งด่วน คือ งานที่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นคุณค่าหลักของเรา (คนอื่นทำแทนได้) และ งานที่แทรกเข้ามาแต่ไม่ได้สำคัญอะไร เช่น การตอบแชทคนที่ทักพูดคุยเรื่องทั่วไป เป็นต้น

  4. กิจกรรมไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน คือ สิ่งที่ไร้สาระสำหรับชีวิตของเรา ไม่ทำก็ไม่ตาย เช่น เล่นมือถือนานๆ เป็นต้น

====

แล้วเราควรทำอย่างไรกับงานหรือกิจกรรมในแต่ละช่อง

ความเข้าใจต่องานหรือกิจกรรมในแต่ละช่องว่าสำคัญแล้ว แต่การจัดการกับกิจกรรมแต่ละช่องก็สำคัญไม่แพ้กัน เมื่อคุณสามารถวิเคราะห์และนำกิจกรรมต่าง ๆ จัดลงช่องใดช่องหนึ่งใน 4 ช่องด้านบนได้แล้ว คุณก็ต้องเรียนรู้วิธีในการจัดการกับกิจกรรมทั้ง 4 ด้วย

  1. เรื่องสำคัญและเร่งด่วน เราต้องลงมือทำทันที ต้องสะสางให้จบทุกวัน และอย่าปล่อยให้มันเพิ่มขึ้นมา

  2. เรื่องสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เราต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตกับกิจกรรมในกลุ่มนี้ โดยการวางแผน ลงตารางว่าจะทำสิ่งนั้นเมื่อใด เวลาไหน

  3. เรื่องไม่สำคัญแต่เร่งด่วน เราต้องจ่ายงานให้คนอื่นทำแทน หรือ สร้างระบบให้ทำโดยอัตโนมัติ และ / หรือ ย้ายไปไว้ในช่อง 2 โดยการกำหนดช่วงเวลาในการลงมือทำ

  4. ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน เราต้องลดปริมาณลงและ / หรือกำจัดทิ้งโดยการกำหนดช่วงเวลาในการทำ (ย้ายไปไว้ในช่อง 2 )

====

เทคนิคบริหารเวลาขั้นสุดยอด

ถ้าถามว่าในบรรดากิจกรรมทั้ง 4 ช่อง กิจกรรมช่องไหนที่มีคุณค่า มีความสำคัญมากที่สุด ตอบได้ทันทีเลยว่า กิจกรรมในช่องที่ 2 เพราะถ้าเราไม่ลงมือทำ มันจะเคลื่อนย้ายมาเป็นกิจกรรมที่สำคัญและเร่งด่วน(ช่อง 1) ในอนาคตอย่างแน่นอน

ตัวอย่างเช่น

ถ้าคุณไม่ออกกำลังกาย และดูแลสุขภาพ (ช่อง 2) คุณก็อาจเจ็บป่วยจนทำงานไม่ไหว (ช่อง 1)

ถ้าคุณไม่เรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญ (ช่อง 2) คุณก็อาจจะไม่มีทักษะในการทำงานจนต้องถูกสั่งให้ไปเรียนเพิ่มเติมให้เร็วที่สุด (ช่อง 1) หรือ อาจต้องหางานใหม่ (ช่อง 1 )

ถ้าคุณไม่ให้เวลาคุณภาพกับครอบครัว (ช่อง 2) คุณก็อาจจะมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดี ลูกไม่เชื่อฟัง ไปคบเพื่อนไม่ดีจนทำผิดกฏหมายทำให้คุณต้องไปประกันตัวเขาที่สถานีตำรวจ(ช่อง 1)

====

แล้วกิจกรรมในช่องไหนที่อันตรายที่สุด

ตอบจากประสบการณ์ในการนำมาใช้จริงมากกว่าสิบปี และทำงานเป็นโค้ชด้าน Productivity มายาวนาน ก็ต้องบอกว่า….กิจกรรมที่ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน (ช่อง 3)

เรียนรู้วิธีจัดการเรื่องไม่สำคัญแต่เร่งด่วน

คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะมองเห็นกิจกรรมที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน(ช่อง 4)  เพราะมันคือเรื่อง ‘ไร้สาระ’ ในชีวิตของคุณ(แต่คุณอาจจะใช้เวลาอยู่กับมันทั้งวันเลยก็ได้) นั่นเอง

สิ่งที่ยากกว่าคือการรู้ว่ากิจกรรมไหนคือเรื่องที่ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน

ในที่นี้ผมจะแบ่งกิจกรรมในช่องนี้ออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. กิจกรรมที่ไม่ใช่คุณค่าหลักของคุณ หมายความว่ามีคนที่ทำได้ดีกว่าคุณอยู่
  2. กิจกรรมที่ดูเหมือนด่วนและแทรกเข้ามาทันที แต่จริง ๆ มันเป็นเรื่องที่รอได้ เช่น มีข้อความแชทเด้งขึ้นมา

====

เมื่อคุณเข้าใจและเริ่มมองเห็นกิจกรรมช่อง 3 นี้แล้ว ก็ถึงเวลาที่คุณจะต้องใช้กลวิธีในการจัดการมันให้หมดไปเสียที ซึ่งวิธีจัดการมีดังนี้

  1. Delegate คือ การจ่ายงานนั้นให้คนอื่นทำแทน เช่น ลูกน้อง หรือ การจ้าง Outsource เช่น การทำบัญชี การทำความสะอาดห้อง การล้างรถ การทำอาหาร เป็นต้น
  2. Swap คือ การแลกงานกันทำ วิธีนี้อยู่ในสมมติฐานที่ว่าแต่ละคนมีความถนัดชำนาญที่แตกต่างกัน และเราจะทำสิ่งที่เราถนัดได้ดีโดยใช้เวลาที่น้อยกว่าคนที่ไม่ถนัดเสมอ ถ้าคุณมีงานที่ถนัดและเชี่ยวชาญ ลองเสนอที่จะแลกกันทำกับคนในทีมดู
  3. Re – Process คือ การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน จากเดิมที่ต้องมีขั้นตอน 1-2-3-4 เราอาจจะลดบางขั้นตอนให้เหลือ 1-3-4 หรือ 1-2—4 เพื่อลดการใช้เวลากับกิจกรรมนั้นลง

ทั้งหมดนี้คือวิธีการสำคัญในการทวงคืนเวลาที่มีคุณค่าของคุณกลับคืนมา

====

คำถามสุดท้ายก็คือ…แล้วเราจะเอาเวลาที่ได้คืนมาจากการลดกิจกรรมในช่องที่ 3 ไปทำอะไรล่ะ

ถ้าคุณเอาไปใช้ในการทำกิจกรรมในช่องที่ 4 เช่น นั่ง ๆ นอน ๆ เล่นมือถือไปเรื่อยเปื่อย หรือ นอนดูซีรี่ย์แบบมาราธอน ก็ถือว่าคุณได้ทำลายเวลาที่เพิ่งได้คืนมาไปอย่างป่นปี้

วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับเวลาที่ได้คืนมาก็คือ นำมันไปลงทุนกับการทำกิจกรรมในช่องที่ 2 ไม่ว่าจะเป็น ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพ รับฟังคนในครอบครัว ใช้เวลาคุณภาพกับคนที่รัก อ่านหนังสือ เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ฯลฯ

อีกหนึ่งเทคนิคในการบริหารเวลาที่ดีมากๆ คือ เทคนิค Time Boxing เพื่อทำให้งานเสร็จอย่างยอดเยี่ยม คลิก ที่นี่

และทั้งหมดนี้คือ แก่นแท้ของการบริหารเวลาอย่างแท้จริงครับ

====

สนใจเรียนรู้และฝึกฝนทักษะการบริหารเวลาอย่างเป็นรูปธรรมและนำไปใช้ได้ทันทีที่เรียนจบ แนะนำหลักสูตร Effective Time Management คลิกดูรายละเอียดที่นี่

บทความโดย

อ.เวย์  เวสารัช โทณผลิน

Productivity Coach and Team Collaboration Facilitator

วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างประสิทธิผลและการบริหารทีมของผู้นำ

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

10 สุดยอดเทคนิค พิชิตใจเพื่อนร่วมงาน

คุณมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานมากแค่ไหน 

งานวิจัยของ gallup organization องค์กรระดับโลกที่ทำงานเรื่องวัฒนธรรมองค์กรพบว่าคนที่มีเพื่อนสนิทหรือกัลยาณมิตรที่ดี 7 เท่าได้มาจากการทำงาน

ในบทความนี้จะโฟกัสที่คำถามว่าเราจะสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพได้อย่างไร

เราจะมาดูกันว่าเพราะอะไรการมีความสัมพันธ์ที่ดีจึงมีความสำคัญและจะแนะนำวิธีพัฒนาความสัมพันธ์ของคุณกับคนที่ไม่ค่อยลงรอยกับคุณให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้นด้วย

====

 

ทำไมในการทำงานเราจึงควรมีความสัมพันธ์หรือมิตรภาพที่ดี

ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม เราโหยหามิตรภาพความสัมพันธ์ที่ดีเสมือนโหยหาน้ำและอาหาร

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ยิ่งเรามีความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งมีความสุขและสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ดีขึ้นมากเท่านั้น

====

ข้อดีในการมีความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิตการทำงานนั้นมีมากมาย เช่น

คุณจะเพลิดเพลินในการทำงานขึ้นมาทันทีเมื่อคุณถูกรายล้อมไปด้วยเพื่อนร่วมงานที่ดี

คนเหล่านั้นมีแนวโน้มในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่ดี

ทำให้เรากลายเป็นคนที่มีไอเดียใหม่ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ได้เสมอ 

====

นอกเหนือจากนี้ ความสัมพันธ์ที่ดียังให้อิสระต่อเราด้วย ยกตัวอย่างเช่น

แทนที่เราจะใช้เวลาหมดไปกับการแก้ปัญหาวุ่นวายเกี่ยวกับความสัมพันธ์แย่ๆ เราสามารถโฟกัสไปที่โอกาสต่างๆที่เข้ามาได้มากขึ้น

ความสัมพันธ์ที่ดียังเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากถ้าคุณต้องการจะพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของคุณเอง

พูดง่ายๆคือหากเจ้านายคุณไม่ไว้ใจคุณเพราะมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อกันแล้วละก็ สิทธิในการได้รับเลื่อนตำแหน่งในโอกาสต่างๆของคุณก็จะหมดไปอย่างแน่นอน

เพราะคนส่วนใหญ่ก็คงไม่อยากร่วมงานกับคนที่ไม่ลงรอยกับเราเท่าไหร่หรอก 

นอกจากเจ้านายของคุณแล้ว คุณยังต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆอีกด้วย 

ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ผู้ผลิต และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการประสบความสำเร็จของคุณ สรุปว่าการสร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนที่ทำงานกับเรามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง 

====

 

แล้วแบบไหนล่ะที่เรียกว่าการมีความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิตการทำงาน

ลักษณะของความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิตการทำงาน มีดังนี้ 

มีความไว้เนื้อเชื่อใจ

ความไว้เนื้อเชื่อใจถือเป็นพื้นฐานสำคัญของทุกๆความสัมพันธ์ เมื่อไหร่ที่คุณเชื่อใจ ไม่ว่าจะเป็นทีมงานหรือเพื่อนร่วมงานของคุณ นั่นหมายถึงคุณได้เชื่อมสายสัมพันธ์ที่แข็งแรงซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้คุณทำงานและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะความเชื่อใจจะทำให้คุณคิดและทำทุกอย่างอย่างซื่อสัตย์ เปิดเผย และไม่ต้องมาคอยกังวลหรือเสียเวลากับการคอยระมัดระวังการกระทำของคุณ

====

มีความเคารพซึ่งกันและกัน

 เมื่อไหร่ที่คุณเคารพเพื่อนร่วมงานของคุณ เช่น เคารพการทำงานหรือความคิด คุณก็จะได้สิ่งนั้นกลับคืนมาเช่นกัน

====

มีการเอาใจใส่

 ในที่นี้หมายถึงการมีความรับผิดชอบต่อการกระทำและคำพูด คนที่เอาใจใส่ผู้อื่นจะระมัดระวังและใส่ใจสิ่งที่เขาพูดไปและจะไม่ยอมให้คำพูดหรืออารมณ์ในด้านลบของตนเองต้องไปกระทบกับคนใกล้ตัว

====

มีการยอมรับในความหลากหลาย

ผู้คนที่มีความสัมพันธ์ที่ดีไม่เพียงแต่ยอมรับความหลากหลายทางความคิดหรือระหว่างตัวบุคคลเท่านั้นแต่จะใส่ใจสิ่งเหล่านั้นจริงๆ เช่น เมื่อไหร่ที่เพื่อนร่วมงานของคุณเสนอไอเดียที่แตกต่างออกไปจากคุณ คุณให้เวลากับตัวเองในการพิจารณาไอเดียเหล่านั้น เจาะลึกไปในแต่ละจุดและนำสิ่งเหล่านั้นไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจ

====

มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม

คนเราสื่อสารกันอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการส่งอีเมล์ การส่งข้อความต่างๆหรือแม้แต่การประชุม ยิ่งคุณมีการสื่อสารที่ดีและมีประสิทธิภาพกับผู้คนรอบๆตัวคุณมากเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งมีความสัมพันธ์ที่ดีเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นอยู่กับการสื่อสารที่เปิดเผยและตรงไปตรงมา

====

ต่อไปนี้คือ 10 สุดยอดเทคนิคในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและพิชิตใจเพื่อนร่วมงานที่คุณควรนำไปใช้

1.พัฒนาทักษะการทำงานกับผู้อื่น

ความสัมพันธ์ที่ดีเริ่มจากการมีทักษะเรื่องการทำงานที่ดีกับคน เช่น การร่วมมือกันทำงาน การสื่อสารและการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

====

2.แยกแยะความสัมพันธ์กับคนที่คุณต้องการจะพัฒนา

โฟกัสไปที่ความสัมพันธ์ที่คุณต้องการ คุณรู้รึเปล่าว่าคุณต้องการอะไรจากคนเหล่านั้น? แล้วพวกเขาเหล่านั้นต้องการอะไรจากคุณ? การเข้าใจถึงความต้องการเหล่านี้สามารถเป็นเครื่องมือในการสร้างความสำคัญที่ดีขึ้นได้

====

3.รู้จักจัดตารางเวลา

สละเวลาของคุณเพียงเล็กน้อยในแต่ละวันในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานเพียงแค่ 5 นาทีหรือ 20 นาที เช่น เข้าไปถามไถ่เพื่อนร่วมงานช่วงพักกลางวัน ตอบข้อความในทวิตเตอร์หรือชวนกันไปนั่งดื่มกาแฟ สิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้จะสร้างพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดีโดยเฉพาะการพูดคุยหรือทำอะไรต่อหน้ากัน

====

4.ให้ความสำคัญกับความฉลาดทางอารมณ์

ใช้เวลาในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้คุณรับรู้ความรู้สึกของคุณเองและเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพยายามที่จะบอกคุณ ดังนั้นผู้ที่มีความฉลาดทางอารมณ์จะสามารถเข้าใจอารมณ์และความต้องการของผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

====

5.ยกย่องผู้อื่น

แสดงความขอบคุณเมื่อไหร่ก็ตามที่มีคนช่วยคุณ ทุกคนในที่นี้คือตั้งแต่เจ้านายของคุณไปจนถึงแม่บ้านทุกคนต้องการรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าในงานที่ทำ ดังนั้นการที่เราชื่นชมยกย่องผู้คนรอบตัวคุณด้วยความจริงใจ นั้นจะเป็นสิ่งที่ช่วยเปิดประตูในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของคุณกับคนเหล่านั้น

====

6.คิดบวก

การคิดบวกเป็นสิ่งที่น่าดึงดูดและสามารถส่งต่อไปยังคนรอบข้างได้และมันจะช่วยทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณและเพื่อนร่วมงานแข็งแรงขึ้น ไม่มีใครหรอกที่อยากอยู่ท่ามกลางคนที่คิดลบตลอดเวลา

====

7.จัดการกับขอบเขตของคุณ

คุณต้องแน่ใจว่าคุณจัดการขอบเขตของคุณอย่างเรียบร้อย ทุกคนต้องการมีเพื่อนในที่ทำงานแต่บางครั้งมิตรภาพก็ส่งผลกระทบต่องานของคุณ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ก็ตามที่เพื่อนร่วมงานของคุณเริ่มอยากจะใช้เวลากับคุณมากขึ้น

เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่มันจำเป็นอย่างมากที่คุณจะต้องบริหารเวลาของคุณให้ดีว่าคุณมีเวลาเข้าสังคม พบปะสังสรรค์มากน้อยเพียงใดในระหว่างการทำงานแต่ละวัน

====

8.หลีกเลี่ยงการนินทา

การแบ่งพรรคแบ่งพวกในที่ทำงานและการนินทาเป็นปัจจัยหลักที่จะทำร้ายความสัมพันธ์ของคุณ ถ้าคุณมีประสบการณ์การมีปัญหาความขัดแย้งกับใครบางคนในกลุ่มให้คุยกันแบบเปิดเผยถึงปัญหา

เพราะการนินทาเพื่อนร่วมงานไม่เพียงแต่จะเพิ่มความรุนแรงแต่ยังก่อให้เกิดความหวาดระแวงและความเกลียดชังอีกด้วย

====

9.ฟังอย่างตั้งใจ

เมื่อไหร่ที่คุณพูดคุณกับลูกค้าหรือเพื่อนร่วมงาน คนเหล่านั้นจะตอบสนองต่อสิ่งที่ผู้ฟังตั้งใจฟังว่าพวกเขาพูดอะไร โฟกัสการฟังมากกว่าการพูดแล้วคุณจะกลายเป็นคนที่น่าไว้ใจได้ภายในพริบตา

ทักษะการฟังที่ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเพื่อนร่วมงานดียิ่งขึ้น คือ Active Listening ทักษะการฟังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คนในทีม อ่านและศึกษาเพิ่มเติมที่นี่

====

10.จัดการกับความสัมพันธ์ที่ยากลำบาก

บางครั้งคุณอาจจะต้องทำงานกับคนที่คุณไม่ชอบหรือบางคนที่ทำงานไม่เข้าขากันบ้างแต่ยังไงก็ตามมันก็จำเป็นอย่างมากในการรักษาความสัมพันธ์ให้มีความเป็นมืออาชีพกับคนเหล่านั้น เมื่อไหร่ที่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นพยายามเรียนรู้คนคนนั้น

ช่วงแรกๆมันอาจจะดูเหมือนว่าเราไม่ค่อยลงรอยกันเท่าไหร่ ดังนั้นเราควรเริ่มต้นบทสนทนาที่เป็นกันเอง จริงใจ เช่นอาจจะชวนไปทานอาหารเที่ยง เป็นต้น ระหว่างบทสนทนาเพื่อให้เป็นกันเองมากขึ้นอาจจะถามถึงสิ่งที่เขาสนใจหรือสิ่งที่ประสบความสำเร็จในอดีต แทนที่คุณจะมองหาความแตกต่างระหว่างกัน คุณควรมองหาสิ่งที่คล้ายคลึงระหว่างเขาและคุณมากกว่า

====

สุดท้ายนี้ให้คุณระลึกเอาไว้เสมอว่า ไม่ใช่ทุกความสัมพันธ์ที่เราพยายามจะออกมาเวิร์คแต่อย่างน้อยเราก็ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากพิชิตใจคนในทีม เพื่อพัฒนาการทำงานร่วมกันให้ดียิ่งขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

ที่มา

https://www.mindtools.com/pages/article/good-relationships.htm

เรียบเรียงโดย
Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

วิธีจัดการความขัดแย้งในทีมฉบับฉุกเฉิน

วิธีจัดการความขัดแย้งในทีมฉบับฉุกเฉิน

ในฐานะผู้นำที่ต้องบริหารคน ไม่ว่าจะอย่างไรคุณก็ต้องเจอกับปัญหาความขัดแย้งเข้าสักวัน

แต่ก่อนจะคิดหาทางแก้ไข คุณต้องเริ่มจากการวินิจฉัยปัญหาเสียก่อนว่ามันเป็นปัญหาใหม่เกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ หรือ ปัญหาเรื้อรังมาระยะหนึ่งแล้ว

====

สำหรับปัญหาสด ๆ ร้อน ๆ (Hot Conflict) แต่ละฝ่ายจะยังเต็มไปด้วยอารมณ์คุกรุ่น อาจมีการพูดจาโหวกเหวก โวยวายเสียงดัง บางครั้งอาจสัมผัสได้ถึงความหยาบคายหรือการข่มขู่คุกคามที่ดูเหมือนควบคุมได้ยาก

ส่วนปัญหาเรื้อรัง (Cold Conflict) แต่ละฝ่ายจะผ่านช่วงอารมณ์รุนแรงไปสักพักแล้ว แต่มีความไม่ชอบหน้ากันที่สะสมมาอย่างต่อเนื่อง ปฏิริยาที่เกิดขึ้นมีทั้งการบ่นพึมพำใส่กัน ทำปากขมุบขมิบประชดประชัน แซว หรือเบ้ปากใส่กัน มีการเลี่ยงการประสานงานหรือทำงานร่วมกัน ไปจนถึงดูเย็นชาต่อกัน
====

ถ้าเป็นปัญหาสด ๆ ร้อน ๆ คุณจะต้องทำตรงข้ามกับสภาพที่เกิด คือจะต้องทำให้บรรยากาศเย็นลง (cool it down) เพื่อจะได้ไม่เกิดความรุนแรงและเป็นการเรียกสติกลับมา

การนำคู่ขัดแย้งมาเคลียร์กันจะต้องมีกติกาที่ชัดเจน และต้องแน่ใจว่าทั้งสองฝ่ายเต็มใจที่จะแก้ปัญหา คุณต้องให้โอกาสแต่ละฝ่ายได้พูดมุมมองและความรู้สึกของตนเอง เพื่อสร้างความไว้วางใจต่อกัน
====

ส่วนปัญหาเรื้อรัง คุณจะต้องรื้อปัญหานั้นกลับมาให้ร้อนขึ้นอีกครั้ง (warm it up) เพื่อให้ต่างฝ่ายกลับไประลึกถึงต้นตอของเรื่อง หวนไปหาความรู้สึกตอนนั้น

เพราะปัญหาก็เหมือนกับการปรุงอาหาร คุณจะต้องทำให้มันอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดเพื่อที่คุณจะสามารถจัดการได้ง่ายที่สุด สำคัญที่สุดคือการให้ความเป็นธรรมในการพูดของแต่ละฝ่าย

สิ่งที่คุณต้องจำไว้ก็คือ เป้าหมายหลักของการจัดการความขัดแย้ง ไม่ใช่การประนีประนอมอย่างที่หลายคนคิดกัน

แท้จริงแล้วสิ่งที่ดีที่สุดคือการทำให้ทั้งสองฝ่ายกลับมาสานสัมพันธ์จนเกิดความไว้วางใจกันอีกครั้งหนึ่ง นำไปสู่การหาหนทางใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาเพื่อทำงานร่วมกัน
====

ต่อไปนี้ คือคำแนะนำในกรณีที่คุณกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งกับใครก็ตาม จงทำตามนี้

1.อย่ารีบร้อน

คุมสถานการณ์ให้ดี อย่างแสดงออกผลีผลาม มิเช่นนั้นคุณออาจจะเสียใจไปตลอดกาล

2.วางเป้าหมายให้ชัดว่าต้องการให้สถานการณ์นี้จบแบบไหน

กำหนดเป้าหมายโดยไม่วอกแวกกับสิ่งอื่นที่เข้ามา

3.อย่าชี้นิ้วใส่หน้าใครหรือพุ่งเป้าไปที่ชื่อของคน

ให้สนใจที่ตัวปัญหามากกว่าตัวบุคคล

4.อย่าเป็นพวก ‘คนดีขี้ตัดสิน’

จงเปิดใจให้กว้างต่อความแตกต่างระหว่างคุณกับเขาเอาไว้เสมอ

5.รับฟังทุกอย่าง

แต่จงฟังอย่างมีประเด็น

หนึ่งทักษะการฟังที่ช่วยบริหารจัดการความขัดแย้งได้ดีคือ Active Listening ทักษะการฟังที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คนในทีม อ่านและศึกษาเพิ่มเติมที่นี่

====

6.อย่าเพิ่งด่วนสรุปอะไรทั้งหมดจนกว่าทั้งสองฝ่ายจะได้แสดงออก

7.ลองหาบุคคลที่ 3 ที่ไม่ได้อยู่ฝ่ายไหนมาแชร์มุมมองของเขา

8.อย่าปัดป้องตัวเองเกินไป

ให้คู่กรณีเข้าถึงมุมมองเราในฐานะมนุษย์เหมือนกัน

9.เช็คอุณหภูมิความขัดแย้งเป็นระยะ ๆ

ถ้ายังไม่ดีก็หาทางประวิงเวลามาคุยกันอีกครั้งตอนที่อารมณ์เย็นลงกว่าเดิมอีกนิด

10.อย่าลืมเอาใจเขามาใส่ใจเรา

สุภาพเอาไว้เสมอ และอยากให้เขาทำอย่างไรกับเรา ก็จงทำกับคนอื่นเช่นนั้นด้วยเช่นกัน จำไว้ว่าคุณต้องรักษาความเห็นอกเห็นใจกันและกันเอาไว้

อย่าลืมว่า ‘การจัดการกับปัญหา’ เป็นการทำให้คุณและคนอื่น ๆ เห็นตัวตนของคุณได้ชัดขึ้นนั่นเอง

====

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากแก้ไขความขัดแย้งในทีมและพัฒนาให้ทีมร่วมมือร่วมใจกันทำงานได้ดียิ่งขึ้น ขอแนะนำหลักสูตร Team Communication & Collaboration คลิกที่นี่

เรียบเรียงจาก “To Resolve a Conflict, First Decide: Is It Hot or Cold?” โดย Mark Gerzon จาก Harvard Business Review 26 มิถุนายน 2014

Learning Hub Thailand – เราพัฒนาคนในองค์กร ให้เพิ่มศักยภาพและทำงานอย่างมีความสุข

ปรึกษาเรื่องการพัฒนาทีมในองค์กร ติดต่อ Line @lhtraining หรือ โทร 094 959 2645

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • Google Ads, Google Analytics

    Statistics

  • Google Analytics

    Statistics

  • Facebook

    Marketing/Tracking

  • ActiveCampaign

    Functional

  • ActiveCampaign

    Marketing/Tracking

Save